วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อิทธิพลของมนุษย์ต่อระบบนิเวศ

ในสมัยก่อนที่ประชากรของมนุษย์บนโลกยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อยนั้น การดำเนินชีวิตของมนุษย์ไม่ได้สร้างผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างไร แต่ต่อมาเมื่อมนุษย์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนาวิถีชีวิตด้วยเทคโนโลยีให้มีความเป็นอยู่สุขสบายดี การบุกรุกสภาพสมดุลของธรรมชาติจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง

ปัจจุบันนี้มนุษย์มักจะทำให้ระบบนิเวศในโลกนี้เป็นระบบนิเวศที่ธรรมดา โดยเฉพาะการเกษตรในปัจจุบันได้พยายามลดระดับต่าง ๆ ในห่วงโซ่อาหารให้เหลือน้อยที่สุด โดยการกำจัดพืชและหญ้าหลายชนิดไปเพื่อพืชชนิดเดียว เช่น ข้าวสาลี หรือข้าวโพด ซึ่งทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ความมั่นคงระบบนิเวศลดน้อยลง หากมีโรคระบาดเกิดขึ้น โอกาสที่ระบบนิเวศจะถูกทำลายก็จะมีมาก

นอกจากนั้น บริเวณการเกษตรทั่วโลกก็นับเป็นบริเวณที่ระบบนิเวศถูกทำลายมาก ทั้งนี้เพราะมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลาย สารพิษที่เกิดจากการเกษตรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตระดับสูง ๆ ได้ตามห่วงโซ่อาหาร จึงมักสะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตในปริมาณที่เข้มข้นกว่าที่มีในสิ่งแวดล้อมเสมอ ดังตัวอย่างของการใช้ DDT

เมื่อมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชในบริเวณที่หนึ่ง DDT ซึ่งเป็นส่วนผสมของยากำจัดศัตรูพืชนั้น จะตกค้างอยู่ในดินถูกชะล้างลงในแม่น้ำและสะสมอยู่ในแพลงค์ตอน เมื่อสัตว์น้ำชนิดอื่น เช่น ปลามากินแพลงค์ตอน DDT ก็จะเข้าไปสะสมในตัวปลาเป็นปริมาณมากกว่าที่อยู่ในแพลงค์ตอนและเมื่อนกซึ่งกินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ เข้าไป ก็จะสะสมไว้ในปริมาณสูง เมื่อสัตว์อื่นมากินนกก็ยิ่งจะทำให้การสะสม DDT ในตัวมันสูงมากขึ้นไปอีก ถ้า DDT สูงขึ้นถึงขีดอันตรายก็จะทำให้สัตว์ตายได้หรือไม่ก็ผิดปกติ DDT ส่วนใหญ่จะสะสมในเนื้อเยื่อไขมันและขัดขวางการเกาะตัวของ แคลเซี่ยมที่เปลือกไข่ทำให้ไข่บางแตกง่ายและไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้มีรายงานว่าในประเทศสวีเดน และในประเทศญี่ปุ่นมีนกบางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว เนื่องจากผลกระทบสะสมตัวของ DDT

การพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ นั้นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ มิฉะนั้นก็อาจจะเกิดผลเสียหายร้ายแรง ทั้งต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อนทำให้เกิดบริเวณน้ำขังจำนวนมหาศาลอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคเนื่องจากพาหะของโรคนั้นสามารถเติบโตได้ดีในบริเวณน้ำนิ่ง


ปัจจุบันปะการังได้ถูกทำลาย เนื่องจากกิจกรรมการท่องเที่ยว วิธีการที่จะดำเนินการฟื้นฟูวิธีการหนึ่ง โดยการสร้างปะการังเทียม โดยนำยางรถยนต์ไปไว้ใต้ทะเลให้ปะการังอาศัยเกาะอยู่ เพื่อให้มีส่วนปรับระบบนิเวศในท้องทะเล


ชีวาลัย (Biosphere) เป็นส่วนหนึ่งของโลก ที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ ได้แก่ บริเวณที่เป็นมหาสมุทรน้ำจืด บรรยากาศและชั้นดินบางส่วนมีผู้เปรียบเทียบว่าถ้าให้โลกของเราสูงเท่ากับตึก 8 ชั้น ชีวาลัย (Biosphere) จะมีความหนาเพียงครึ่งเท่านั้นซึ่งแสดงว่าบริเวณที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ได้นั้นบางมาก ทรัพยากรธรรมชาติจึงมีจำกัดเกินกว่าที่เราคาดหมายไว้ มนุษย์เองเป็นเพียงส่วนน้อยนิดของชีวาลัยซึ่งยังต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อม ในชีวาลัย เพื่อมีชีวิตรอดมนุษย์อาจจะเปลี่ยนหรือทำลายระบบนิเวศระบบใดได้ แต่มนุษย์จะไม่สามารถทำลายชีวาลัยได้ เพราะเท่ากับเป็นการทำลายตนเอง

ดังนั้นการเรียนรู้เรื่องนิเวศวิทยา จึงเป็นการทำให้มนุษย์ได้เข้าใจถึงฐานะ และหน้าที่ของตัวเองว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบเท่านั้น การกระทำใด ๆ ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมมีผลเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในระบบด้วยเช่นเดียวกับที่มีผลต่อมนุษย์เอง

ดังนั้นเราจึงควรตระหนักว่าในการพัฒนาใด ๆ ของมนุษย์ที่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็นวัตถุดิบนั้นเราจะต้องคำนึงถึงปัญหาการเสียสมดุลทางนิเวศวิทยาด้วย เพื่อไม่ให้การพัฒนานั้นย้อนกลับมาสร้างปัญหาต่อมนุษย์เองไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภาวะมลพิษหรือการขาดแคลนทรัพยากรในอนาคต

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งไม่มีชีวิต

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ
เมื่อพิจารณาในระบบย่อยลงมาจากจักรวาล ก็สามารถมองเห็นอย่างประจักษ์ชัดว่าสรรพสิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันในระบบองค์รวม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในท่ามกลางความหลากหลาย สรรพสิ่งต่าง ๆ ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน โดยมีมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มิใช่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ตามที่เคยคิดและเข้าใจกันมาแต่ก่อน มนุษย์จึงต้องทำตัวให้เป็นส่วนหนึ่งของโลกธรรมชาติมนุษย์ในปัจจุบันนอกจากจะทำตัวแปลกแยกไปจากธรรมชาติแล้ว ยังเป็นตัวการทำลายสภาพแวดล้อมอย่างมากมาย สิ่งแวดล้อมที่สำคัญของมนุษย์มีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ (ประเวศ วะสี 2519 :114) ได้แก่
1) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ สิ่งไม่มีชีวิต เช่น แร่ธาตุ ดิน น้ำ อากาศร้อน อากาศหนาว ทะเลทราย ภูเขา ป่าไม้ แม่น้ำ ลำคลอง เป็นต้น
2) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ได้แก่ สิ่งที่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ สัตว์ เชื้อโรค สิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ดังตัวอย่าง เช่น ต้นตะบองเพชรขึ้นในทะเลทราย เชื้อมาเลเรียมีในเขตร้อน ไม่มีในเขตหนาว เป็นต้น
3) สิ่งแวดล้อมทางสังคม เป็นสิ่งแดล้อมที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ เช่น ประชากร เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม และเทคโนโลยี เป็นต้น
ในระบบองค์รวม สิ่งแวดล้อมทั้งสามชนิดของมนุษย์จะต้องดำรงอยู่ในลักษณะประสานสัมพันธ์ สอดคล้องกลมกลืนกัน เพื่อให้เกิดภาวะดุลยภาพ สิ่งที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จากยุควัฒนธรรมวัตถุนิยมที่ส่งเสริมให้มนุษย์บริโภคเกินขอบเขต ทำให้มนุษย์สร้างปรัชญาในการดำเนินชีวิต ระบบเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ระบบการศึกษา รวมทั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ ในลักษณะที่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพอย่างมากมายในรูปแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
เมื่อใดมีการทำลายธรรมชาติ ตักตวงเอาผลประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการอันไร้ขอบเขตของตน โดยไม่คำนึงถึงว่าจะเป็นการทำลาย เมื่อระบบย่อยหลายระบบถูกทำลาย ในที่สุดก็จะนำไปสู่ความหายนะของโลก และสุดท้ายก็เป็นการทำลายชาติพันธุ์ของมนุษย์เอง
ดังนั้น อัล กอร์ และนักวิชาการตะวันตก เรียกร้องให้มีการแสวงหาปรัชญาใหม่ เพื่อเป็นสิ่งนำทางในการพัฒนาโดยไม่ทำลายธรรมชาติ ซึ่งเขาเรียกการพัฒนาแนวใหม่ว่า เป็นการพัฒนาที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศของโลก (Ecologically Sustainable Development) การพัฒนาดังกล่าวจะต้องกระทำพร้อมกันทั้งโลก ในลักษณะของการปฏิวัติ เรียกชื่อว่า การปฏิวัติเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Development) โดยมีหลักการว่า เราอยู่บนแผ่นดินเดียวกัน เราต้องพยายามรวมกันเป็นโลกเดียวกัน ไม่ว่าจะในแนวทางความคิด หรือการกระทำก็ตาม ซึ่งนี่เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของมนุษย์ สังคม และสภาพแวดล้อม
จากจุดนี้เองถือว่าเป็นจุดสำคัญที่ทำให้นักคิด นักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ของโลกตะวันตก ได้เริ่มต้นศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจในเรื่องของปรัชญาตะวันออกอย่างจริงจัง จนกระทั่งมีคำกล่าวเกิดขึ้นใหม่ในวงวิชาการว่า โลกกำลังหมุนไปทางตะวันออกตามที่ จอห์น เนสบิตต์ (John Naisbitt) ได้กล่าวไว้ใน เมกา
เทรนด์ส เอเชียว่า โลกในอนาคตนับแต่นี้ไป จะแสดงศักยภาพออกมาหลาย ๆ อย่างว่าจะถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการของเอเซีย ที่จะนำความรุ่งโรจน์ ความมั่งคั่งไพบูลย์และความยิ่งใหญ่ของเอซียกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
การพัฒนาที่ยั่งยืน พุทธวีธีแก้ปัญหามนุษย์
พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่หลักการมุ่งที่จะสร้างปัญญาให้แก่มนุษ มุ่งให้มนุษย์ใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาของโลกพุทธธรรมได้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการพัฒนาคนอย่างลึกซึ้งโดยมีจุดมุ่งหมายในหารพัฒนาให้มนุษย์มีอิสระอย่างแท้จริง สามารถดำเนินชีวิตในลักษณะที่เอื้ออาทรต่อมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ

ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

  
ความสัมพันธ์เชิงระบบระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิต
การเพิ่มประชากรทำให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมการเพิ่มของประชากรก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมทรามลงดังนี้
1.สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ปัญหาน้ำเสีย อากาศเสีย ฝุ่นละออง และขยะ มูลฝอย เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เช่นการสูญเสียระบบนิเวศที่ดีของสัตว์บกและสัตว์น้ำไป
3. การใช้ประโยชน์ของมนุษย์ จากทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เรื่องของการใช้น้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
4. คุณภาพชีวิต คุณภาพชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป ตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยปัญหาของเมือง ปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐาน ปัญหาการจราจร ซึ่งรวมไปถึงปัญหาการดำรงชีวิต และปัญหาสุขภาพอนามัย เป็นต้น
ผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อคุณภาพชีวิต
การเพิ่มจำนวนของประชากรมีผลโดยตรงต่อการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นก็ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากร รวมทั้งก่อให้เกิดปัญหากับประชากรด้วยเช่นกัน ดังมีกรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. การขาดแคลนอาหาร แม้ว่าผลิตผลทางการเกษตรของหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา จะมีปริมาณมาขึ้นก็ตาม แต่สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วผลผลิตจะคงที่ ขณะเดียวกันการเพิ่มจำนวนของประชากรทั้งโลกก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ประเทศที่มีความยากจนและขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ยังคงขาดแคลนอาหารมากยิ่งขึ้น ดังกรณีตัวอย่างในประเทศในทวีปแอฟริกาหลายประเทศ เช่น เคนยา เอธิโอเปีย โซมาลี ต้องล้มตายลง เนื่องมาจากการขาดแคลนอาหาร ส่วนที่มีชีวิตอยู่ก็เป็นประชากรที่ ไม่สมบูรณ์ทั้งทางสมองและร่างกาย มีการประมาณกันว่าประชากรของโลกอย่างน้อยต้องตายลงเพราะการขาดอาหารอย่างน้อยปีละ 15 ล้านคน
2. การเกิดโรคการเพิ่มสารพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น สารพิษจากการเกษตร น้ำเสียและควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ฯลฯ ล้วนเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพอนามัยของผู้ที่ได้รับสารพิษเหล่านั้น อันตรายจากสารพิษมีตั้งแต่เล็กน้อย เช่น วิงเวียน ปวดศีรษะ แพ้อากาศ ไปถึงการเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และถ้าได้รับสารพิษ ในปริมาณมาก ก็ทำให้เสียชีวิตได้ทันที
ในประเทศไทย เคยพบว่าผู้ที่ดื่มน้ำที่มีสารหนูเจือปน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เป็นพื้นที่เหมืองเก่า ทำให้ผิวหนังมีผื่นขึ้นทั่วไป การกินอาหารที่มีสารพิษตกค้างจากการเกษตร สารพิษที่เกิดจากการปรุงแต่งสีและรสชาด อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคหัวใจ มะเร็ง โรคผิวหนัง โรคตับ และมีผลต่อทารกในครรภ์มารดา การอยู่ในบริเวณที่เสียงดังเกินกว่า 80 เดซิเบล เป็นเวลานานก็อาจทำให้หูตึงได้

3. การอพยพย้ายถิ่นการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติและความแห้งแล้ง ทำให้ประชากรในหลายประเทศต้องอพยพย้ายถิ่น ไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่ ทั้งเป็นการอพยพย้ายถิ่นภายในประเทศและระหว่างประเทศ ประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชีย นับว่ามีการอพยพ ย้ายถิ่นสูงกว่าประเทศในยุโรป และอเมริกาเหนือ
การอพยพย้ายถิ่นระหว่างประเทศในปัจจุบัน มักจะเกิดขึ้นหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางความคิด และการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต

4.ปัญหาสังคมการขาดแคลนทรัพยากรได้ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา เช่น การที่ประชาชนบุกรุกป่าพื้นที่ป่าสงวน การตัดไม้อย่างผิดกฎหมายของผู้มีอิทธิพล เกิดการลอบทำร้ายซึ่งกันและกัน รวมทั้งเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการควบคุมดูแลทรัพยากร ประพฤติทุจริตต่อหน้าที่ จะเห็นได้ว่าปัญหาสังคมหลายอย่างมักจะมีสาเหตุมาจาก การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสาเหตุสำคัญ
5. ความยากจนต้นเหตุของปัญหาความยากจนที่เกิดขึ้นในโลกประการหนึ่งคือ การที่ประชากรของประเทศ ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประเทศที่จัดว่ามีความยากจน ก็มักจะเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากร และความหนาแน่นของประชากรมาก เช่น จีน อินเดีย บังคลาเทศ ยกเว้นในประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ แต่ถ้าประชากรมีความรู้ดี ก็สามารถใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแสวงหา เปลี่ยนแปลงและแลกเปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติได้ เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นต้น
6.ขาดที่พักผ่อนหย่อนใจสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาตินับว่าเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจที่ดีของมนุษย์ จะเห็นได้ว่าเมื่อบ้านเมืองมีความเจริญมากขึ้นเท่าไร ความต้องการสถานที่พักผ่อนหย่อนใจตามธรรมชาติก็ยิ่งมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นทุกวัน ในปัจจุบันประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง จะนิยมออกไปพักผ่อนตามชายทะเล น้ำตก อุทยานแห่งชาติ เขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่ามากยิ่งขึ้น แต่สถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจกลับมีอยู่อย่างจำกัด เมื่อประชากชนออกไปใช้กันมากขึ้น ก็กลับทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เช่น ที่บางแสน พัทยา สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจะอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม
7. ขาดสถานที่ศึกษาหาความรู้สิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติเป็นแหล่งที่จะให้ความรู้ที่สำคัญแก่มนุษย์ได้ โดยตรง ไม่ว่ามนุษย์จะมีความก้าวหน้าขึ้นมากเท่าใด แต่การดำรงชีวิตของมนุษย์ ก็ยังคงจะต้องอาศัยปัจจัยในการดำรงชีวิตที่มีอยู่ในธรรมชาติ การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบตัวมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องศึกษาหาความรู้ต่อไป แต่การเปลี่ยนแปลง และก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน จะทำให้มนุษย์ขาดสถานที่ ที่จะศึกษาหาความรู้ได้โดยตรง ทำให้เกิดความยากลำบากที่จะส่งเสริมให้เกิดความรักและหวงแหนธรรมชาติและจะมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในอนาคต
วิเคราะห์ปัญหาชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่น อากาศเสีย น้ำเสีย การสูญเสียป่าไม้ ฯลฯ ต่างก็เกิดขึ้นเนื่องจากกิจกรรม ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ที่จะต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในที่สุดมนุษย์ก็จะได้รับผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม เช่น การเกิดโรคภัยไข้เจ็บ เกิดการขาดอาหาร เกิดการอพยพครอบครัว ฯลฯ ตามมา ดังนั้นถ้าจะวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมแล้ว จึงพอจะทราบสาเหตุของความเสื่อมทรามของสิ่งแวดล้อมว่า เกิดมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ

     
ระบบนิเวศ หมายถึง หน่วยของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่ง มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก 2 คำ คือOikos แปลว่า บ้าน, ที่อยู่อาศัย,แหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตLogos แปลว่า เหตุผล, ความคิด== ความหมายของคำต่างๆ ในระบบนิเวศ ==สิ่งมีชีวิต (Organism)หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้1. ต้องมีการเจริญเติบโต2. เคลื่อนไหวได้ด้วยพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกาย3. สืบพันธุ์ได้ 4. ประกอบไปด้วยเซลล์5. มีการหายใจ6. มีการขับถ่ายของเสียต่างๆ7. ต้องกินอาหาร หรือแร่ธาตุต่างๆประชากร (Population)หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ณ ช่วงเวลาเดียวกันกลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community)หมายถึง สิ่งมีชีวิตต่างๆ หลายชนิด มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มีความสัมพันธ์กัน โดยตรงหรือโดยทางอ้อมโลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere)หมายถึง ระบบนิเวศหลายๆ ระบบนิเวศมารวมกันแหล่งที่อยู่ (Habitat)หมายถึง แหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งบนบกและในน้ำสิ่งแวดล้อม (Environment)หมายถึง1. สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทำให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตหรือ ดำรงชีวิตได้ดีหรือไม่2. สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตtest== ส่วนประกอบ==ในระบบนิเวศหนึ่งๆ นั้น จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ส่วนด้วยกัน คือ1. องค์ประกอบที่มีชีวิต ซึ่งแบ่งย่อยออกไปตามหน้าที่ ได้ดังนี้ 1.1 ผู้ผลิต หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยตัวเองจากพลังงานแสงอาทิตย์เพราะมีสารสีเขียวที่เรียกว่า คลอโรพีลล์ซึ่งได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดและบัคเตรีบางชนิดรวมทั้งสิ้นประมาณ 300,000ชนิด พืชเหล่านี้สร้างอาหารโดยอาศัยพลังงานจากดวงอาทิตย์และอนินทรียสาร 1.2 ผู้บริโภค เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตัวมันเองไม่สามารถสร้างอาหารได้ต้องอาศัยการกินพืชและสัตว์อื่นๆ 1.3 ผู้ย่อยสลาย เป็นพวกที่ปรุงอาหารเองไม่ได้ ต้องอาศัยซากของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นอาหาร ได้แก่ จุลินทรีย์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ ได้แก่ บัคเตรี เห็ด รา ยีสต์ ฟังไจ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้ จะทำการย่อยสลายซากชีวิตต่างๆ โดยการขับเอนไซม์ออกมาย่อยสลายจนอยู่ในรูปของสารละลาย แล้วจากนั้นก็ดูดซับเข้าไปในลำตัวของมันต่อไป การย่อยสลายในระดับดังกล่าวได้ก่อให้เกิดสารประกอบในรูปของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งกลุ่มผู้ย่อยสลายจะทำหน้าที่เปลี่ยนสารอินทรีย์เหล่านี้ให้เป็นสารอนินทรีย์ ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพื่อให้พืชสีเขียวดังไปใช้สร้างธาตุอาหารต่อไปใหม่ 2. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต ซึ่งประกอบด้วย 2.1 อนินทรียสาร ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน น้ำ ไฮโดรเจน ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ 2.2 อินทรียสาร ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ฯลฯ ซึ่งพืชและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทั้งหลาย ทำการสังเคราะห์ขึ้นมาจากสารอนินทรีย์ 2.3 ภูมิอากาศ ได้แก่ แสง อุณหภูมิความชื้น น้ำฝน== อ้างอิง ==* ระบบนิเวศ จากเว็บไทยกู๊ดวิว

ผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อม

ผลสืบเนื่องอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ
  • ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำ
  • ภาวะมลพิษ (Pollution) เช่น มลพิษในน้ำ ในอากาศและเสียง มลพิษในอาหาร สารเคมี อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง

แนวทางแก้ไข ควบคุม ป้องกันสิ่งแวดล้อม
1.กำหนดให้มีและบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพอากาศ  เสียง  และนํ้า
  2.ทำการสำรวจและตรวจสอบคุณภาพอากาศ  เสียง  และนํ้า   ตามแหล่งกำเนิด
       และย่านต่างๆ  เป็นประจำ
  3.กำหนดแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานและวิธีการตรวจสอบคุณภาพของอากาศ  นํ้า
       และเสียง  ให้สอดคล้องกับภาวะแวดล้อมและกาลเวลา
   4. ควบคุมการเพิ่มจำนวนยานพาหนะส่วนบุคคล   และสนับสนุนโครงการระบบ-
       ขนส่งมวลชน
    5. สนับสนุนส่งเสริมให้มีการศึกษา  วิจัย  ประชุมสัมนาเกี่ยวกับเรื่องอากาศเสีย
       เสียงดัง   และนํ้าเสีย   รวมถึงการเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวแก่ประชาชน

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
      ในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ทั้งภายในประเทศและในท้องถิ่นมีแนวโน้ม
ถูกทำลายเพิ่ม มากขึ้น ในขณะเดียวกัน    สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม (ที่มนุษย์สร้างขึ้น)
กลับเพิ่มมาแทนมากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้เนื่องจาก  ในปัจจุบันจำนวนประชากรมนุษย์เพิ่ม
ขึ้นอย่างรวดเร็ว   มีการประดิษฐ์และพัฒนาเทคโนโลยี  มาใช้อำนวยประโยชน์ต่อมนุษย์
เพิ่มมากขึ้น ผลจากการทำลายสิ่งแวดล้อม  ทางธรรมชาติ  ส่งผลกระทบต่อ มนุษย์หลาย
ประการ เช่น ปัญหาการแปรปรวนของภูมิอากาศโลกการร่อยหรอ    ของทรัพยากรธรรม
ชาติภัยพิบัติมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น   มลพิษสิ่งแวดล้อมขยายขอบเขต กว้างขวางมาก
ขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรง    ต่อการดำรงอยู่และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ เพื่อ
ป้องกันปัญหาดังกล่าวทุกคนจึงต้อง     ตระหนักถึง ปัญหาร่วมกัน โดยศึกษาถึงลักษณะ
ของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น ตลอดจนแสวงหาแนวทางในการ ป้องกันเพื่อแก้ปัญหา

ผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
รูปน้ำเสียในชุมชน    เทคโนโลยี คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยประโยชน์หากนำมาใช้อย่างไม่ระมัด
ระวังก็จะส่งผล กระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในระยะที่ผ่าน
มามนุษย์ได้พัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์ในทุก ๆ ด้าน แต่ในทางตรงกันข้าม ผล
จากการใช้อย่างขาดสติก็ได้ส่งผลกระทบต่อทั้งมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน ดังนี้

1.ผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นปัจจัยสำคัญ ในการ ดำรงชีวิตของทั้ง มนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งมวลถูกทำลาย และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 2. ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคม  นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวล้อมทางธรรมชาติแล้ว หากนำมาใช้อย่างไม่
่ระมัดระวังก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคม และวัฒนธรรมของมนุษย์ได้

องค์ประกอบสิ่งแวด


         สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย  จะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น               
    ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
    1.ทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะที่นำมาใช้ได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น ได้แก่
   1.1) ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย เช่น พลังงาน จากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น ใช้เท่าไรก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่รู้จักหมด
   1.2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น ที่ดิน น้ำ ลักษณะภูมิประเทศ ฯลฯ ถ้าใช้ไม่เป็นจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในที่เดิม ย่อมทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ได้ผลผลิตน้อยลงถ้าต้องการให้ดินมีคุณภาพดีต้องใส่ปุ๋ยหรือปลูกพืชสลับและหมุนเวียน
2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป ได้แก่
   2.1) ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า ประชากรโลก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ปลาบางชนิด ทัศนียภาพอันงดงาม ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้
   2.2) ประเภทที่ไม่อาจทำให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติธรรมชาติของดิน พร สวรรค์ของมนุษย์ สติปัญญา เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ชาติ ไม้พุ่ม ต้นไม้ใหญ่ ดอกไม้ป่า สัตว์บก สัตว์น้ำ ฯลฯ
   2.3) ประเภทที่ไม่อาจรักษาไว้ได้ เมื่อใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนำมายุบให้ กลับเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วนำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น โลหะต่าง ๆ สังกะสี ทองแดง เงิน ทองคำ ฯลฯ
   2.4) ประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปนำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมันก๊าซ อโลหะส่วนใหญ่ ฯลฯ ถูกนำมาใช้เพียงครั้งเดียวก็เผาไหม้หมดไป ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้
   ทรัพยากรธรรมชาติหลักที่สำคัญของโลก และของประเทศไทยได้แก่ ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ แร่ธาตุ และประชากร (มนุษย์)                                                                                        
 2.สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่อยู่รอบ ๆ ตัว ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งเกิดจาก การกระทำของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
2. สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างกำหนดขึ้น
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ จำแนกได้ 2 ชนิด คือ
1) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อากาศ ดิน ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะ ภูมิอากาศ ทัศนียภาพต่าง ๆ ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทรและทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด
2) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพหรือชีวภูมิศาสตร์ ได้แก่ พืชพันธุ์ธรรมชาติต่าง ๆ สัตว์ป่า ป่าไม้ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเราและมวลมนุษย์