วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

  
ความสัมพันธ์เชิงระบบระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิต
การเพิ่มประชากรทำให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมการเพิ่มของประชากรก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมทรามลงดังนี้
1.สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ปัญหาน้ำเสีย อากาศเสีย ฝุ่นละออง และขยะ มูลฝอย เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เช่นการสูญเสียระบบนิเวศที่ดีของสัตว์บกและสัตว์น้ำไป
3. การใช้ประโยชน์ของมนุษย์ จากทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เรื่องของการใช้น้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
4. คุณภาพชีวิต คุณภาพชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป ตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยปัญหาของเมือง ปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐาน ปัญหาการจราจร ซึ่งรวมไปถึงปัญหาการดำรงชีวิต และปัญหาสุขภาพอนามัย เป็นต้น
ผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อคุณภาพชีวิต
การเพิ่มจำนวนของประชากรมีผลโดยตรงต่อการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นก็ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากร รวมทั้งก่อให้เกิดปัญหากับประชากรด้วยเช่นกัน ดังมีกรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. การขาดแคลนอาหาร แม้ว่าผลิตผลทางการเกษตรของหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา จะมีปริมาณมาขึ้นก็ตาม แต่สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วผลผลิตจะคงที่ ขณะเดียวกันการเพิ่มจำนวนของประชากรทั้งโลกก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ประเทศที่มีความยากจนและขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ยังคงขาดแคลนอาหารมากยิ่งขึ้น ดังกรณีตัวอย่างในประเทศในทวีปแอฟริกาหลายประเทศ เช่น เคนยา เอธิโอเปีย โซมาลี ต้องล้มตายลง เนื่องมาจากการขาดแคลนอาหาร ส่วนที่มีชีวิตอยู่ก็เป็นประชากรที่ ไม่สมบูรณ์ทั้งทางสมองและร่างกาย มีการประมาณกันว่าประชากรของโลกอย่างน้อยต้องตายลงเพราะการขาดอาหารอย่างน้อยปีละ 15 ล้านคน
2. การเกิดโรคการเพิ่มสารพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น สารพิษจากการเกษตร น้ำเสียและควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ฯลฯ ล้วนเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพอนามัยของผู้ที่ได้รับสารพิษเหล่านั้น อันตรายจากสารพิษมีตั้งแต่เล็กน้อย เช่น วิงเวียน ปวดศีรษะ แพ้อากาศ ไปถึงการเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และถ้าได้รับสารพิษ ในปริมาณมาก ก็ทำให้เสียชีวิตได้ทันที
ในประเทศไทย เคยพบว่าผู้ที่ดื่มน้ำที่มีสารหนูเจือปน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เป็นพื้นที่เหมืองเก่า ทำให้ผิวหนังมีผื่นขึ้นทั่วไป การกินอาหารที่มีสารพิษตกค้างจากการเกษตร สารพิษที่เกิดจากการปรุงแต่งสีและรสชาด อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคหัวใจ มะเร็ง โรคผิวหนัง โรคตับ และมีผลต่อทารกในครรภ์มารดา การอยู่ในบริเวณที่เสียงดังเกินกว่า 80 เดซิเบล เป็นเวลานานก็อาจทำให้หูตึงได้

3. การอพยพย้ายถิ่นการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติและความแห้งแล้ง ทำให้ประชากรในหลายประเทศต้องอพยพย้ายถิ่น ไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่ ทั้งเป็นการอพยพย้ายถิ่นภายในประเทศและระหว่างประเทศ ประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชีย นับว่ามีการอพยพ ย้ายถิ่นสูงกว่าประเทศในยุโรป และอเมริกาเหนือ
การอพยพย้ายถิ่นระหว่างประเทศในปัจจุบัน มักจะเกิดขึ้นหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางความคิด และการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต

4.ปัญหาสังคมการขาดแคลนทรัพยากรได้ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา เช่น การที่ประชาชนบุกรุกป่าพื้นที่ป่าสงวน การตัดไม้อย่างผิดกฎหมายของผู้มีอิทธิพล เกิดการลอบทำร้ายซึ่งกันและกัน รวมทั้งเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการควบคุมดูแลทรัพยากร ประพฤติทุจริตต่อหน้าที่ จะเห็นได้ว่าปัญหาสังคมหลายอย่างมักจะมีสาเหตุมาจาก การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสาเหตุสำคัญ
5. ความยากจนต้นเหตุของปัญหาความยากจนที่เกิดขึ้นในโลกประการหนึ่งคือ การที่ประชากรของประเทศ ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประเทศที่จัดว่ามีความยากจน ก็มักจะเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากร และความหนาแน่นของประชากรมาก เช่น จีน อินเดีย บังคลาเทศ ยกเว้นในประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ แต่ถ้าประชากรมีความรู้ดี ก็สามารถใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแสวงหา เปลี่ยนแปลงและแลกเปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติได้ เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นต้น
6.ขาดที่พักผ่อนหย่อนใจสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาตินับว่าเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจที่ดีของมนุษย์ จะเห็นได้ว่าเมื่อบ้านเมืองมีความเจริญมากขึ้นเท่าไร ความต้องการสถานที่พักผ่อนหย่อนใจตามธรรมชาติก็ยิ่งมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นทุกวัน ในปัจจุบันประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง จะนิยมออกไปพักผ่อนตามชายทะเล น้ำตก อุทยานแห่งชาติ เขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่ามากยิ่งขึ้น แต่สถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจกลับมีอยู่อย่างจำกัด เมื่อประชากชนออกไปใช้กันมากขึ้น ก็กลับทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เช่น ที่บางแสน พัทยา สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจะอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม
7. ขาดสถานที่ศึกษาหาความรู้สิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติเป็นแหล่งที่จะให้ความรู้ที่สำคัญแก่มนุษย์ได้ โดยตรง ไม่ว่ามนุษย์จะมีความก้าวหน้าขึ้นมากเท่าใด แต่การดำรงชีวิตของมนุษย์ ก็ยังคงจะต้องอาศัยปัจจัยในการดำรงชีวิตที่มีอยู่ในธรรมชาติ การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบตัวมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องศึกษาหาความรู้ต่อไป แต่การเปลี่ยนแปลง และก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน จะทำให้มนุษย์ขาดสถานที่ ที่จะศึกษาหาความรู้ได้โดยตรง ทำให้เกิดความยากลำบากที่จะส่งเสริมให้เกิดความรักและหวงแหนธรรมชาติและจะมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในอนาคต
วิเคราะห์ปัญหาชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่น อากาศเสีย น้ำเสีย การสูญเสียป่าไม้ ฯลฯ ต่างก็เกิดขึ้นเนื่องจากกิจกรรม ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ที่จะต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในที่สุดมนุษย์ก็จะได้รับผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม เช่น การเกิดโรคภัยไข้เจ็บ เกิดการขาดอาหาร เกิดการอพยพครอบครัว ฯลฯ ตามมา ดังนั้นถ้าจะวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมแล้ว จึงพอจะทราบสาเหตุของความเสื่อมทรามของสิ่งแวดล้อมว่า เกิดมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น